วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

วันขึ้นปีใหม่


ความหมาย

ปีใหม่ เป็นเรื่องของวันเดือนหมุนเวียนมาบรรจบครบรอบ ๓๖๕ วัน (๑) หรือ ๑๒ เดือน ซึ่งสมมติกันว่าปีหนึ่งหมดไป ขึ้นวันเดือนใหม่ของอีกปีหนึ่ง ก็เรียกกันว่าปีใหม่ แล้วเปลี่ยนนักษัตรประจำปีใหม่เป็น ชวด ฉลู ขาล เถาะ เป็นต้น และเปลี่ยนพุทธศักราช (พ.ศ.) ใหม่

ความเป็นมา

ประเพณีปีใหม่ของไทยในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ในพระราชพิธีสิบสองเดือนพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริว่า ในกฎมนเทียรบาลมีการสมโภชและเลี้ยงลูกขุน ซึ่งตรงกับการเลี้ยงโต๊ะอย่างฝรั่ง จึงทรงกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลขึ้นเวลาเช้ามีการพระราชกุศลสดับปกรณ์พระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เวลาค่ำเชิญพระสยามเทวาธิราชและเชิญเจว็ดรูปพระภูมิเจ้าที่จากหอแก้วออกมาตั้งที่บุษบกมุขเจ็ดพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทตั้งเครื่องสังเวยที่พื้นชาลาหน้ามุขเด็จตั้งพระราชอาสน์ที่ประทับ ณ ศาลาคด มีละครหลวงแสดงและตั้งโต๊ะ พระราชทานเลี้ยง    ในรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นทางสุริยคติ ถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ร.ศ. ๑๐๘ หน้า ๕) และโปรดให้ใช้รัตนโกสินทรศกในการนับปี ตั้งแต่ ร.ศ. ๑๐๘เป็นต้นมา   ครั้งต่อมาในรัชกาลที่ ๘ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ แผนกกฤษฎีกา ภาค ๑ - ๒ พ.ศ. ๒๔๘๔ หน้า ๓๑ - ๓๓) เพราะวันที่ ๑ มกราคมใกล้เคียงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี และเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทย ต้องตามคติแห่งพระบวรพระพุทธศาสนา และตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นไป (อ่านเพิ่มเติม)


เพลงยอดนิยมในเทศกาลปีใหม่
 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น